Print
Parent Category: ความรู้รอบคุก
Hits: 15319

Imageจากการศึกษา พบว่า ข้อผิดพลาดร้ายแรงที่พบได้บ่อยเมื่อมีการปฏิบัติการกู้ชีวิตก็คือ ปั๊มหัวใจแต่ไม่ทำการผายปอด อย่าลืมว่า สมองจะตายถ้าขาดเลือดไปเลี้ยง แต่ถ้าเลือด ที่ไปเลี้ยงสมองไม่มีออกซิเจนอยู่ก็ไร้ประโยชน์...ผู้ต้องขังก็ไม่มีโอกาสรอด

 

การช่วยชีวิตผู้ป่วยด้วยวิธีปั๊มหัวใจ โดยไม่ได้สนใจว่าผู้ป่วยหายใจเองได้หรือเปล่า เป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรง.....ถ้าผู้ป่วยหายใจเองไม่ได้ก็ต้องผายปอดด้วย จึงจะมีสิทธิ์รอด ถ้ามีผู้ช่วยอยู่ด้วยก็ค่อยยังชั่ว คนหนึ่งผายปอด อีกคนหนึ่งปั๊มหัวใจ แต่ถ้าอยู่คนเดียวก็ต้องทำเองทั้งสองอย่างโดยทำสลับกัน

Imageการผายปอดวิธีง่ายๆที่ทำกันในโรงพยาบาลหรือในสถานพยาบาลก็คือใช้หน้ากากครอบที่ปากและจมูกของผู้ป่วยแล้วบีบลูกยาง (ดังรูป) อัดลมเข้าไปในปอดผู้ป่วยเป็นจังหวะตามอัตราการหายใจปกติของคนเรา

Imageแต่ถ้าไม่มีเครื่องมือ ก็ต้องผายปอดโดยวิธีเป่าปาก (mouth-to-mouth) ซึ่งทำได้ดังนี้

  1. ให้ผู้ป่วยนอนหงาย ล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมในปากเช่น ฟันปลอม ออก
  2. ใช้มือข้างหนึ่งดันคางผู้ป่วยให้แหงนขึ้นเพื่อช่วยให้ลมผ่านเข้าสู่ปอดได้สะดวก
  3. มืออีกข้างหนึ่งบีบจมูกผู้ป่วยให้แน่นเพื่อไม่ให้ลมรั่วออกมาทางจมูกขณะที่เป่า
  4. สูดหายใจเข้าให้เต็มปอด เอาปากประกบกับปากผู้ป่วยให้แน่นแล้วออกแรงเป่า

(อย่าเพิ่งทำหน้าอย่างนั้นสิครับ ในสถานการณ์จริง ความรู้สึกรังเกียจจะไม่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนที่ไม่หายใจนั้น เป็นญาติพี่น้องหรือเป็นลูกหลานของเรา และยังไม่เคยมีรายงานที่ไหนในโลกเลยว่าการผายปอดโดยวิธีปากต่อปากจะทำให้ติดเชื้อเอดส์)

Imageการผายปอดแบบปากต่อปากที่ถูกต้องนั้น เจ้าสาว...เอ๊ย....ผู้ป่วยจะต้องแหงนหน้าขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้ลมที่เป่านั้นเข้าปอดได้ง่าย และเวลาเป่าอย่าหลับตานะครับ ตาจะต้องจ้องไปที่หน้าอกผู้ป่วยว่ามีการขยายออกจริงเวลาเราเป่า เมื่อหยุดเป่า หน้าอกของผู้ป่วยก็หดตัวลงเองเพื่อไล่อากาศเสียออกมา แล้วเราก็เริ่มเป่าใหม่

ให้ทำการผายปอดโดยการเป่าปาก 2 ครั้ง สลับกับการปั๊มหัวใจ 15 ครั้ง ไปเรื่อยๆจนกว่าทีมช่วยชีวิตตัวจริงจะมาถึง

Imageการช่วยชีวิตผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลนั้น ทีมช่วยชีวิตไม่ค่อยเหนื่อยเท่าไหร่หรอกครับ เพราะมีเครื่องมือผ่อนแรงเพียบ ที่เห็นในรูปคือเครื่องช่วยหายใจแบบ Bird's respirator ซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่มีใช้ในโรงพยาบาลทุกแห่ง ทำหน้าที่ปั๊มลมเข้าปอดผู้ป่วยได้ทั้งวันทั้งคืน