Print
Parent Category: ความรู้รอบคุก
Hits: 6999

Imageถ้าปฏิบัติงานอยู่ในเรือนจำ สักวันหนึ่งก็ต้องพบกับปัญหาผู้ต้องขังเสียชึวิต เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ต้องรู้ดีว่า จะต้องทำอะไรบ้าง

เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในเรือนจำ ก็ต้องมีสักวันหนึ่งที่จะเจอปัญหาผู้ต้องขังเสียชีวิตในเรือนจำ
สิ่งที่ต้องทำ นอกเหนือไปจากการตั้งกรรมการสอบสวน ก็คือ

 

  1. รักษาสภาพศพ ไม่เคลื่อนย้ายโดยไม่มีเหตุผลที่สมควร
  2. รักษาสภาพแวดล้อม โดยกันผู้ต้องขังอื่นๆออกจากบริเวณที่พบศพ (ในเรือนจำที่แออัดและผู้ต้องขังเสียชีวิตในเรือนนอนจะมีปัญหามาก ทำได้แค่เอาผ้าคลุมศพไว้เท่านั้น)
  3. แจ้งพนักงานสอบสวนโดยด่วนและไม่ควรรื้อค้นหรือแตะต้องสิ่งของในห้องจนกว่าเจ้าหน้าที่ที่ทำการชันสูตรพลิกศพจะปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อย

การชันสูตรพลิกศพในเรือนจำไม่ใช่เรื่องยากเมื่อเทียบกับโลกภายนอกการชันสูตรพลิกศพทำไปเพื่อให้รู้ว่า :
ผู้ตายเป็นใคร ก็รู้กันอยู่แล้วว่าผู้ต้องขังที่เสียชีวิตคือใคร ไม่ได้ลึกลับจนถึงกับต้องถ่ายภาพเชิงซ้อนหรือตรวจ DNA ให้เสียเวลา สิ่งที่เจ้าหน้าที่ต้องทำก็คือถ่ายรูปและพิมพ์ลายนิ้วมือ
Imageตายมานานแค่ไหน วิธีที่แพทย์นิติเวชใช้ในการคาดคะเนเวลาที่เสียชีวิตก็คือ

นอกจากนี้ ยังคาดคะเนได้จากอาหารที่เหลือตกค้างอยู่ในกระเพาะ การขึ้นอืดและเน่าเปื่อยของศพ ชนิดของหนอนแมลงบางชนิดที่พบในตัวศพ สีของหญ้าที่ศพทับไว้ ฯลฯ
อ่านไว้เป็นความรู้ก็พอครับ เหตุการณ์แบบนี้ไม่มีวันเกิดขึ้นในเรือนจำเป็นอันขาด เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ต้องขังจะเสียชีวิตมาเป็นวันๆ เพราะเรือนจำต้องตรวจนับยอดผู้ต้องขังอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เสียชีวิตเวลาไหน เพื่อนผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ที่อยู่เวรบอกได้อยู่แล้ว

อะไรคือสาเหตุของการตาย เช่น ป่วยตาย ถูกทำร้ายตาย ฆ่าตัวตาย ฯลฯ

ใครทำให้ตาย จะต้องตอบคำถามนี้ ถ้าผู้ต้องขังมีบาดแผล ฟกช้ำดำเขียว มีร่องรอยการต่อสู้ในบริเวณที่พบศพ