ข้อบ่งชี้และข้อห้ามในการตีตรวนมีระบุไว้ชัดเจนใน พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ และกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นความลับทางราชการที่ผู้ต้องขังและญาติหรือผู้สนใจจะเปิดอ่านไม่ได้.......
ข้อบ่งชี้ในการตีตรวนผู้ต้องขังมีเพียง 2 ข้อเท่านั้น
1.ป้องกันการหลบหนี ที่ใช้กันมากที่สุดก็คือตอนที่พาผู้ต้องขังไปศาล ซึ่งจำเป็นต้องใส่ตรวนชั่วคราว เพราะกำลังเจ้าหน้าที่ควบคุม มีน้อยกว่าจำนวนผู้ต้องขังหลายเท่าตัว การนำเอาเทคนิคทางด้าน VIDEO-CONFERENCE มาใช้ จะช่วยลดจำนวนผู้ต้องขังที่จะถูกตีตรวนลงได้บ้าง นอกจากนี้ เรือนจำหลายแห่งที่มีความมั่นคงต่ำ แต่จำเป็นต้องคุมขังผู้ต้องขังโทษสูง หรือคดีอุกฉกรรจ์ ก็มีความจำเป็นต้องใส่ตรวนผู้ต้องขังไว้ชั่วคราว จนกว่าจะสามารถย้ายตัวไปยังเรือนจำที่มีความมั่นคงสูงกว่า
2.ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นในเรือนจำ บางครั้งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ต้องขังด้วยกันในเรือนจำ อาจทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทหรืออาจถึงขั้นฆ่ากันตาย ดังนั้น การใส่เครื่องพันธนาการ และแยกผู้ต้องขังที่เป็นคู่กรณีออกจากกันจึงเป็นมาตรการที่จำเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเรือนจำ
นอกจากนี้ ในผู้ต้องขังที่วิกลจริต ก้าวร้าว และมีแนวโน้มที่จะทำอันตรายคนที่อยู่รอบข้าง ก็จำเป็นต้องควบคุมด้วยเครื่องพันธนาการไว้ จนกว่าจะได้รับการบำบัดรักษาจนอาการทุเลา รายละเอียด
ส่วนข้อห้ามในการใช้เครื่องพันธนาการนั้น ทางเรือนจำจะยกเว้นการใส่ตรวนไปศาลกับผู้ต้องขังบางคน เช่น ผู้ต้องขังหญิง ผู้ต้องขังที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงและผู้สูงอายุ