คุกไม่ใช่โรงแรม ผู้ต้องขังจึงไม่มีสิทธิ์เลือกว่าจะอยู่ที่ไหน (ยกเว้นยื่นคำร้องขอย้ายเรือนจำด้วยเหตุผลที่เหมาะสม)
ถ้าเลือกได้ ควรเลือกเข้าวัด ดีกว่าเลือกเข้าคุก
ประตูวัดเปิดตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ค่อยมีคนเข้ายกเว้นเวลามีงานวัด |
ประตูคุกปิดสนิท 4 - 5 ชั้น ผู้คนแห่กันเข้าไปอยู่จนแน่น |
สิ่งที่กำหนดว่าจะได้อยู่คุกไหนก็คือ
1. ท้องที่ที่ทำความผิด
ถูกส่งฟ้องที่ศาลไหน ก็ถูกจำคุกที่เรือนจำประจำศาลนั้น กรมราชทัณฑ์เตรียมเรือนจำไว้รองรับกว่า 130 แห่งทั่วประเทศ
2. สถานะของผู้ต้องขัง
ผู้ต้องขังที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี จะถูกคุมขังที่ เรือนจำพิเศษ ต่างๆ เช่น เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เรือนจำพิเศษธนบุรี ซึ่งจะปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง แตกต่างไปจากผู้ต้องขังที่คดีเสร็จสิ้นแล้ว (แต่ในหลายๆเรือนจำ ผู้ต้องขังเหล่านี้ก็ยังคงถูกขังปะปนกับผู้ต้องขังที่ถูกตัดสินแล้ว เนื่องจาก เรือนจำพิเศษมีไม่เพียงพอ)
ส่วนผู้ต้องขังที่มีโทษเหลือน้อย ก็อาจได้รับการพิจารณาส่งตัวไปยัง ทัณฑสถานเปิด ต่างๆ เช่น ทัณฑสถานเปิดบ้านนาวง ทัณฑสถานเปิดห้วยโป่ง ทัณฑสถานเปิดหนองน้ำขุ่น เป็นต้น
3. ความรุนแรงของคดี
- ถ้าจำคุกนาน จะถูกส่งไปยังเรือนจำความมั่นคงสูง ซึ่งได้แก่ เรือนจำกลาง ต่างๆ เช่น เรือนจำกลางบางขวาง เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำกลางประจำเขต
- ถ้าโทษไม่สูง ก็จะถูกขังที่ เรือนจำจังหวัด หรือ เรือนจำอำเภอ
- ถ้าถูกกักขังแทนค่าปรับ จะถูกขังที่ สถานกักขัง เช่น สถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี สถานกักขังกลางจังหวัดตราด
4. ประเภทของความผิด
ผู้ทำผิดคดีเสพยาเสพย์ติด จะถูกคุมขังในเรือนจำที่ทำหน้าที่บำบัดการติดยา ซึ่งได้แก่ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ ต่างๆ เช่น ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง ทัณฑสถานบำบัดพิเศษลำปาง (เนื่องจากทัณฑสถานบำบัดพิเศษมีไม่เพียงพอ ผู้ต้องขังที่ติดยาเสพติดบางส่วนก็ยังคงถูกขังอยู่ในเรือนจำทั่วไป มีวิธีการบำบัดการติดยาเสพย์ติดที่เรียกว่า "ชุมชนบำบัด"
5. ลักษณะของตัวผู้ต้องขังเอง เช่น
- อายุไม่เกิน 25 ปี จะอยู่ใน ทัณฑสถานวัยหนุ่ม
- ผู้ต้องขังหญิงถูกส่งเข้า ทัณฑสถานหญิง
- ผู้ต้องขังป่วย ถูกส่งเข้า ทัณฑสถานโรงพยาบาล
ฯลฯ