นพวรรณ บัวทอง

นักจิตวิทยา ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ

ลักษณะของผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

1. เจตนาฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จ เช่น กินยาฆ่าแมลง ผูกคอ เชือดข้อมือ กระโดดตึก เป็นต้น

2. มีความตั้งใจฆ่าตัวตายชัดเจน เช่น

  • ทำในสถานที่หรือเวลาที่ยากต่อการพบเห็นหรือช่วยเหลือ
  • เตรียมการเรื่องทรัพย์สินจดหมายลาตาย
  • เตรียมการเรื่องฆ่าตัวตาย เช่น หาซื้อยามาสะสมไว้
  • ใช้วิธีการฆ่าตัวตายที่รุนแรง

3. เคยมีประวัติพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน จากสถิติพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อนและการกระทำครั้งที่ 2 มักเกิดภายในเวลา 90 วัน หลังจากครั้งแรก นอกจากนี้ ผู้ที่เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน มีโอกาสจะทำได้สำเร็จมากกว่าผู้ที่ยังไม่เคยทำ

4. มีโรคทางกาย พบว่าโรคทางกายโรคใดโรคหนึ่งใน 3 โรคต่อไปนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้คิดฆ่าตัวตาย

  • โรคที่รักษาไม่หาย โดยเฉพาะโรคเอดส์
  • โรคทางกายระยะสุดท้าย เช่น มะเร็ง ไตวาย
  • โรคที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทรมาน

5. โรคทางจิตเวช โรคใดโรคหนึ่งใน 4 โรคต่อไปนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้คิดฆ่าตัวตาย

  • โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder)
  • โรคจิต (Psychosis) มีความหวาดระแวง หลงผิดคิดว่าคนปองร้าย หูแว่ว ประสาทหลอน
  • ผู้ติดสุรา (Alcoholism) มักมีความรู้สึกว่าตนเองไม่มีค่าเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ประกอบกับฤทธิ์ของสุราที่มีผลต่อสมอง เมื่อเผชิญปัญหาชีวิตอาจแก้ปัญหาดด้วยฆ่าตัวตายได้
  • บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality disorder) มักเป็นกลุ่มผู้มีอารมณ์อ่อนไหว ไม่มั่นคง หุนหัน หรือสนใจแต่ตนเองเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นทำให้คิดสั้นได้

ความต้องการด้านจิตใจของผู้คิดฆ่าตัวตาย

  • ผู้คิดฆ่าตัวตายต้องการความเห็นอกเห็นใจ และต้องการผู้เข้าใจปัญหาและความรู้สึกของเขา แต่ไม่ต้องการถูกซ้ำเติมจากคนรอบข้าง
  • ผู้คิดฆ่าตัวตายต้องการคนที่หวังดี ยินดีรับฟังและช่วยเหลืออย่างจริงใจ
  • ผู้คิดฆ่าตัวตายต้องการระบายความทุกข์ออกมาทางใดทางหนึ่ง เช่น พูด เขียน ร้องไห้ หรือทำร้ายตนเอง
  • ผู้คิดฆ่าตัวตายต้องการคนที่มีเวลาให้กับเขา ให้ความสนใจและเอาใจใส่ดูแล เนื่องจากเขาจะมีความรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวมากกว่าปกติ
  • กรณีผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น เรียกร้องความสนใจ วุ่นวาย หวาดระแวง แสดงถึงความต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจเหตุผลของการกระทำนั้นๆ

แบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

รายการประเมิน มี ไม่มี
1. มีเรื่องกดดันหรือคับแค้นใจหรือไม่ ? ?
2. รู้สึกเป็นทุกข์จนไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไปหรือไม่ ? ?
3. รู้สึกท้อแท้ เบื่อหน่ายสิ้นหวังหรือไม่ ? ?
4. ขณะนี้มีความคิดฆ่าตัวตาย หรือหาวิธีฆ่าตัวตายหรือไม่ ? ?

?ถ้าตอบ มี ในข้อ 1 หรือ 2 แสดงว่าอาจจะมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายหรือเป็นโรคซึมเศร้า (ควรประเมินโรคซึมเศร้าตามแบบประเมินข้างล่าง)
ถ้าตอบ มี ในข้อ 3 หรือ 4 แสดงว่า มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง

แบบประเมินโรคซึมเศร้า

ส่วน ก
รู้สึกหดหู่ใจ ไม่มีความสุข เศร้าหมองเกือบทุกวัน หรือเบื่อหน่าย ไม่อยากพบปะผู้คน
มี ไม่มี
ส่วน ข
1. น้ำหนักลด
2. นอนไม่หลับเพราะคิดมาก กังวลใจ หรือตื่นบ่อย
3. วุ่นวายใจหรือรู้สึกเหนื่อยหน่าย ไม่อยากทำอะไร
4. รู้สึกอ่อนเพลียจนไม่มีแรงจะทำอะไร
5. รู้สึกหมดหวังในชีวิต ตนเองไม่มีคุณค่า
6. รู้สึกตนเองไม่มีสมาธิ ตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้
7. มีความคิดเกี่ยวกับความตายหรือรู้สึกอยากตายบ่อยๆ
? ?

ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้รับการประเมินรู้สึกหรือมีอาการต่อไปนี้บ้างหรือไม่

ถ้าตอบ มี ในส่วน ก และ มี ในส่วน ข จำนวน 1 - 2 ข้อหมายถึงมีภาวะซึมเศร้าควรให้คำปรึกษา
ถ้าตอบ มี ในส่วน ก และ มี ในส่วน ข ตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไปหมายถึงมีภาวะซึมเศร้ามากให้ส่งพบแพทย์

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ดูแลผู้เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

  1. ควรมีผู้ดูแลอยู่ตลอดเวลา ถ้าเข้าห้องน้ำก็ควรอยู่ในสายตา
  2. เก็บของมีคม ยา หรือสิ่งของที่อาจทำร้ายตนเอง
  3. ถ้าต้องกินยาควรจัดให้กินที่ละมื้อ และเก็บซองยาไว้
  4. จัดให้อยู่ห้องพักชั้นล่าง ระมัดระวังการออกไปที่ระเบียง หรือหน้าต่าง ถ้าไม่มีลูกกรงป้องกัน
  5. ไม่พูดตำหนิประชดประชัน หรือพูดท้าทายให้ทำร้ายตนเองอีก
  6. สังเกตอารมณ์เศร้าจากสีหน้า ท่าทาง คำพูดสั่งลาหรือตัดใจได้และอารมณ์เศร้า ถ้าเปลี่ยนจากซึมเศร้าเป็นสดชื่นอย่างกระทันหัน ควรระมัดระวังมาก
  7. ถ้านอนไม่หลับ / กินอาหารได้น้อย หรืออารมณ์เศร้าไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรพาไปพบแพทย์
  8. พาไปพบแพทย์หรือผู้ให้การปรึกษาตามนัดทุกครั้ง

การดูแลช่วยเหลือผู้ต้องขังที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย

  1. ให้การรักษาพยาบาลตามอาการที่พบ เช่น ทำแผล เย็บแผล ล้างท้อง เป็นต้น
  2. ถ้าส่งตัวกลับแดนควรแจ้งฝ่ายควบคุม ให้ช่วยกันเฝ้าระวังและป้องกันการฆ่าตัวตาย
  3. ในกรณีที่เอะอะโวยวายมากควรให้ยาสงบประสาทถ้าจำเป็น และพิจารณารับตัวไว้สังเกตอาการในสถานพยาบาล
  4. ถ้าไม่แน่ใจ หรือมีผู้ป่วยมีอาการรุนแรงเกินความสามารถในการช่วยเหลือ ควรแจ้งเรือนจำเพื่อขออนุญาตส่งต่อโรงพยาบาลภายนอก
  5. กรณีที่รับตัวไว้ในสถานพยาบาล ต้องปฏิบัติตาม Suicidal precaution และการช่วยเหลือทางด้านจิตใจ โดยให้การรักษาภาวะทางจิตเวชตามคำสั่งแพทย์ เช่น ยาแก้เศร้าในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า หรือยาคลายกังวลในผู้ป่วยที่เครียดมากมีปัญหาในการปรับตัว ยารักษาโรคจิตในขนาดต่ำ อาจได้ผลช่วยควบคุมความยับยั้งชั่งใจ ในผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแบบหุนหันพลันแล่น โดยให้ Perphenazine 4 มก. ต่อวันหรือ Haloperidol 1 มก. ต่อวัน ในผู้ป่วยบางรายที่มีความเสี่ยงสูง และปฏิเสธไม่ร่วมมือในการรักษาหรือก้าวร้าว ควรให้ผู้ป่วยสงบในช่วงแรกโดยฉีด Diazepam 5-10 มก.เป็นครั้งคราว
  6. ควรให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาของผู้ป่วย และควรหาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย

การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยในบางกรณี

กรณีผู้มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างกระทันหัน
เช่น จากการมีสภาวะซึมเศร้าเปลี่ยนเป็นสดชื่นอย่างกระทันหัน หรือจากอาการก้าวร้าวเปลี่ยนเป็นสงบซึมเฉย เป็นภาวะที่ต้องระมัดระวังอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเป็นสภาวะที่แสดงถึงการตัดสินใจโดยเด็ดขาดที่จะฆ่าตัวตาย

กรณีผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้ามาก ไม่พูด ไม่รับประทานอาหาร หรือแยกตัวเอง

  • กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเอง ถ้าผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่ช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้รักษาหรือผู้ดูแล ควรหมั่นเข้าไปพูดคุยในเรื่องที่ผู้ป่วยสบายใจเป็นระยะๆ
  • จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีบรรยากาศผ่อนคลาย อากาศถ่ายเทสะดวกไม่อยู่ในที่มุมอับ เพื่อช่วยลดภาวะเครียดของผู้ป่วยลง
  • จัดอาหาร / ยา ให้ผู้ป่วยรับประทานตามเวลา โดยคำนึงถึงคุณค่าทางอาหารให้ครบตามความต้องการของร่างกาย สะอาดย่อยง่าย หาเครื่องดื่มเย็นๆ ให้ดื่มเพื่อจะได้รู้สึกสดชื่นขึ้น พร้อมทั้งอธิบายถึงประโยชน์ของการรับประทานอาหา รและยาให้ผู้ป่วยทราบ เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการดูแลสุขภาพของตนเองเช่น บอกว่า ยาจะช่วยให้เขาดีขึ้น

กรณีผู้ป่วยก้าวร้าวและทำร้ายตัวเอง

  • จัดสิ่งแวดล้อมให้มีบรรยากาศผ่อนคลาย อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีอุปกรณ์เครื่องใช้ที่อาจนำมาเป็นเครื่องมือในการฆ่าตัวตาย เช่น ภาชนะที่เป็นแก้ว แจกัน กระติกน้ำร้อน มีดปอกผลไม้ ส้อม เป็นต้น
  • ขจัดและลดสาเหตุที่จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการก้าวร้าวมากขึ้น เช่น ควรจัดแยกให้ห่างจากผู้ป่วยที่มีอาการเอะอะโวยวายอยู่ไม่สุข หรือผู้รักษาเองก็ควรให้การดูแลผู้ป่วย ด้วยความนุ่มนวลไม่ทำเสียงดังรบกวนผู้ป่วย ดูแลไม่ให้ผู้ป่วย ถูกรบกวนจากบุคคลที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์คลุ้มคลั่งได้ง่าย เช่น บุคคลที่ผู้ป่วยกำลังโกรธ เป็นต้น

กรณีผู้ป่วยหวาดระแวง กลัวผู้อื่นจะมาทำร้าย

  • ผู้รักษาควรแนะนำตนเองให้ผู้ป่วยทราบว่าเป็นผู้รักษา และจะมาให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีความปลอดภัย
  • การสนทนาในระหว่างผู้ดูแลรักษา ไม่ควรใช้เสียงหรือทำท่ากระซิบกระซาบ เพราะทำให้ผู้ป่วยระแวง
  • ระหว่างการให้อาหารหรือยาแก่ผู้ป่วย ควรอธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่ามีประโยชน์จะช่วยให้เขามีอาการดีขึ้น

กรณีที่ผู้ป่วยมีความรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า

  • กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง
  • ให้ผู้ป่วยกิจกรรมต่างๆที่ประเมินแล้วว่าผู้ป่วยทำได้
  • พูดคุยเพื่อเสริมสร้างกำลังใจ

กรณีที่ผู้ป่วยเรียกร้องความสนใจจากผู้รักษามากเกินไป

  • ระวังความรู้สึกในทางลบต่อผู้ป่วยของตนเอง หากแก้ไขไม่ได้ควรให้ผู้อื่นดูแลรับผิดชอบแทน
  • ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยตามสมควรไม่มากจนเกินไป เน้นให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด
  • คอยเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเอง เห็นความสามารถ และศักยภาพในการเป็นที่พึ่งของตนเอง
  • Dep Curr
  • DOC02
  • Gpo
  • Asso
  • การเยี่ยม
    mini logo

    ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
    33/2 ถนนงามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900 
    อีเมล:hosdoc.mci@gmail.com
    โทร.: 0-2953-3999

     
    Follow Us :