ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ |
ห้องสมุดคณะแพทย์ศาสตร์ |
เครื่อง IBM PC ที่ใช้อยู่เมื่อ 20 ปีก่อน | กล้อง CCTV ระดับ Hi End |
ต่อมาในปี 2544 ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯได้รับงบประมาณ 410 ล้านบาทในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใหม่ นวัตกรรมต่างๆก็ได้ถูกนำมาใช้ในการควบคุมละบำบัดรักษาผู้ต้องขัง เริ่มตั้งแต่ระบบกล้องทีวีวงจรปิดมูลค่า 35 ล้านบาทที่ใช้ในการเฝ้าระวังผู้ต้องขัง 500 คนที่อยู่ในอาคาร 9 ชั้น กล้องทีวีวงจรปิดณภาพสูงที่ติดตั้งอยู่ในตัวอาคาร เป็นกล้องระดับมืออาชีพที่ใช้กันอยู่ตามบ่อนคาสิโนในลาสเวกัส (ซึ่งต้องการให้ผู้ควบคุมบ่อนคาสิโนสามารถซูมดูการโกงไพ่ กล้อง CCTV ระดับ Hi Endของลูกค้าได้) กล้องกว่าร้อยตัวที่ว่านี้ทำให้เจ้าหน้าที่ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนานวัตกรรมด้าน Tele-medicine ได้เป็นอย่างดี โดยการเชื่อมต่อระบบกล้องทีวีวงจรปิดเข้ากับระบบ Internet ทำให้แพทย์สามารถควบคุมกล้องทุกตัวใน ทัณฑสถานได้จากบ้านพัก (หรือจากที่ใดๆในโลกก็ได้ ที่มี Internet ใช้)
ปัจจุบัน ทัณฑสถานโรงพยาบาลยุคใหม่
สำนักงานไร้กระดาษ
ภาพเอกซ์เรย์ที่ไม่ใช้ฟิล์มสามารถ ถูกส่งออกไปทาง Internet ได้ |
เอกซ์เรย์ระบบดิจิตอล ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ |
|
แม้แต่เอกซ์เรย์ฟันของทัณฑสถาน ก็ใช้ระบบดิจิตอลเช่นกัน |
การเตรียมฮาร์ดแวร์และระบบเครือข่าย
เครื่องคอมพิวเตอร์ 140 เครื่องสามารถ เชื่อมต่อเข้าไปในระบบ Gigabit LAN ของทัณฑสถานฯได้อย่างสบาย |
|
ตู้ชุมสายระบบ LAN ของทัณฑสถานฯ |
การจัดหาซอฟแวร์ Electronic Medical Record
ธันวาคม 2548 เป็นวัน ดีเดย์ที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เริ่มนำระบบเวชระเบียนอิเลคโทรนิค(EMR)มาใช้ เป็นเฟสแรก ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการครบเต็มรูปแบบทุกแผนกภายในโรงพยาบาลแล้ว ช่วยประหยัดแรงงานของเจ้าหน้าที่ลงได้มาก การไหลเวียนของข้อมูล ผู้ต้องขังป่วยระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น ห้องตรวจผู้ป่วย ห้องทันต-กรรม ห้องตรวจชันสูตร ห้องผ่าตัด หอผู้ป่วย ฯลฯ ก็จะดำเนินไปอย่าง เป็นระบบ โอกาสสูญหายของข้อมูลก็น้อยลง ความจำเป็นในการประกาศทำลายเอกสารการรักษาผู้ป่วยก็หมดไป แพทย์ของทัณฑสถานฯ(รวมทั้งแพทย์ที่ปรึกษา)ก็ทำงานสะดวก เพราะสามารถสืบค้นข้อมูลของผู้ป่วยได้โดยผ่านทาง Internet ได้อย่างง่ายดาย
การเตรียมบุคลากร
เป็นงานที่ยากที่สุดในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ของทัณฑสถานโรงพยาบาล เพราะเจ้าหน้าที่มีพื้นฐานความรู้ทางด้านนี้ไม่เท่ากัน และบางส่วนต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้ยอมรับนวัตกรรมใหม่ๆเหล่านี้ ทัณฑสถานฯจำเป็นต้องวางแผนส่งบุคลากรไปรับการฝึกอบรม เพื่อให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้บริหาร ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้นอกจากนี้ ยังต้องจัดการฝึกอบรมภายในสถานที่หลายสิบครั้ง มีการอบรมทั้งกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยและเป็นรายบุคคล เจ้าหน้าที่กลุ่มงาน ไอทีต้องทำงานกันหามรุ่งหามค่ำ เพื่อคอยให้บริการและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ
ผลที่ได้รับจากนวัตกรรม
- ปัญหาเรื่องฟิล์มเอกซ์เรย์และเวชระเบียน ซึ่งกองเป็นภูเขาอยู่ในห้องต่างๆจะหมดไป การค้นหาและเรียกดูข้อมูลเอกซ์เรย์ และข้อมูลผู้ป่วยจะง่ายดายแค่ใช้เม้าส์คลิก
- ปัญหาเอกสารสูญหาย และการรอใช้เอกสารจะไม่เกิดขึ้น เพราะเอกสารจะไม่ได้มีเพียงชุดเดียวอีกต่อไป เจ้าหน้าที่ไม่จำกัดจำนวนห้องเก็บฟิล์มเอกซ์เรย์ในทัณฑสถานฯ สามารถเรียกดูเอกสารเรื่องเดียวกันในเวลาเดียวกันได้
- ระบบ "เครือข่ายรองเท้าแตะ" คืออาศัยผู้ต้องขังทำหน้าที่เดินเอกสาร เช่น นำเวชระเบียนจากห้องตรวจไปส่งห้องยา นำฟิล์มเอกซ์เรย์จากหอผู้ป่วยไปส่งที่ห้องผ่าตัด ฯลฯ จะไม่มีให้เห็นอีก
- ภาระงานของเจ้าหน้าที่ทุกคนจะลดลง (ยกเว้นเจ้าหน้าที่ ไอที)โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมสถิติ การจัดทำรายงาน การจัดเก็บเอกสาร ฯลฯ
- ความสะดวกในการเข้าสืบค้นเอกสารทุกประเภทจากจุดใดๆ ในทัณฑสถานโดยผ่านระบบ LAN และจากที่ใดๆในโลกโดยผ่านระบบ Internet
|
ห้องเก็บฟิล์มเอกซ์เรย์ในทัณฑสถานฯ |