Imageเนื่องจากผู้ต้องขังเสียชีวิต ในขณะที่อยู่ในระหว่างการถูกควบคุมตัวดังนั้น บางครั้ง เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ก็อาจได้รับหมาย ให้เดินทางไปให้การเป็นพยานที่ศาล ในฐานะที่เป็นผู้อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์......

ทุกครั้งที่มีผู้ต้องขังเสียชีวิตในเรือนจำ หลังจากที่มีการชันสูตรพลิกศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ที่อยู่เวรในวันที่ผู้ต้องขังเสียชีวิต ก็ต้องทำใจให้ได้ว่า ไม่วันใดก็วันหนึ่งจะต้องได้รับหมายศาลให้เดินทางไปเป็นพยานที่ศาล

 

ทำไมต้องไป

ก็กฎหมายกำหนดไว้นี่ครับ ว่า การเสียชีวิตในกรณีวิสามัญฆาตกรรม หรือตายในระหว่างการควบคุมของเจ้าหน้าที่ นอกจากจะต้องใช้เจ้าหน้าที่ถึง 4 ฝ่ายในการชันสูตรพลิกศพแล้ว ยังต้องมีการดำเนินการไต่สวนชันสูตรพลิกศพในชั้นศาลด้วย ขืนหลีกเลี่ยงไม่ไปก็มีหวังติดคุกเสียเอง (ถ้าไม่เชื่อก็ลองพลิกด้านหลังของหมายศาลดูก็ได้ครับ)

Imageการไปให้การที่ศาลก็ไม่มีอะไรที่จะต้องกังวล เพราะเราไปทำหน้าที่ในฐานะพยานไม่ใช่ไปในฐานะจำเลย ส่วนการตอบคำถามทางด้านเทคนิคต่างๆ เช่น สาเหตุของการตาย หรืออาการเจ็บป่วยเดิมของผู้ตายนั้น ก็เป็นหน้าที่ของแพทย์นิติเวช และพยาบาลหรือแพทย์ของสถานพยาบาลเรือนจำอยู่แล้ว

คำถามที่อัยการซักถามก็สามารถตอบได้โดยไม่ต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าเสียด้วยซ้ำไป เช่นชื่อ อายุ ตำแหน่งหน้าที่ และคำถามยอดนิยมที่มักจะถูกถามเสมอก็คือ รู้จักกับผู้ตายมาก่อนหรือไม่ โกรธเคืองกับผู้ตายมาก่อนหรือไม่.....ก็แค่นั้นเอง.....อย่าเพิ่งเบื่อเสียก่อน เพราะการเป็นพยานศาลถือว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติเมื่อได้รับหมายศาลครับ ถ้าไม่อยากไปศาล ก็พยายามดูแลผู้ต้องขังให้ดี.....อย่าให้ตายในเรือนจำ ขอให้โชคดีไม่ต้องรับหมายศาลไปจนเกษียณอายุราชการนะครับ

  • Dep Curr
  • DOC02
  • Gpo
  • Asso
  • การเยี่ยม
    mini logo

    ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
    33/2 ถนนงามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900 
    อีเมล:hosdoc.mci@gmail.com
    โทร.: 0-2953-3999

     
    Follow Us :