กรมราชทัณฑ์เคยมีหนังสือสั่งการให้เรือนจำ ระวังการลักลอบนำอุปกรณ์สักยันต์เข้ามาในเรือนจำ แต่ก็ป้องกันได้ยาก เพราะเข็มที่ใช้สักมีขนาดเล็กมาก ตรวจค้นไม่ค่อยพบ จำเป็นต้องใช้มาตรการอื่นๆร่วมด้วย เช่น การให้ความรู้แก่ผู้ต้องขัง การลงโทษที่เฉียบขาด
ในสมัยก่อน การสักยันต์นั้นสามารถทำได้โดยใช้กระดูกสัตว์ ก้างปลา หนามต้นไม้ หรือ วัสดุ อะไรก็ได้ที่มีความแหลมคมพอที่จะแทงเข้าไปในผิวหนังด้วยความลึกประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ส่วนเข็มที่ใช้สักในเรือนจำนั้น ทำได้ง่ายมาก และตรวจค้นลำบาก เพราะมีขนาดเล็ก
ในปี 2537 กรมราชทัณฑ์เคยมีหนังสือกำชับให้เรือนจำต่างๆ เข้มงวดกวดขันในการตรวจค้นและ ห้ามนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการสักยันต์เข้ามาในเรือนจำ และให้ลงโทษผู้ต้องขังหาก ฝ่าฝืน ส่วนหมึกที่ใช้ในการสักนั้น สมัยก่อนจะใช้หมึกฝนของจีนหรือใช้อินเดียนอิ๊งค์ ปัจจุบันนี้ หันมาใช้หมึกร็อตติ้งแทน เพราะฉะนั้นหากตรวจค้นเรือนจำแล้วพบหมึกเหล่านี้ ถึงแม้จะไม่พบเข็ม ก็ขอให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจมีการลักลอบสักยันต์ในเรือนจำแล้ว (คลิกดูรายละเอียดหนังสือกรมฯ)
ในปี ค.ศ. 1891 Samuel O' Reilly ได้ประดิษฐ์และจดทะเบียนเครื่องสักยันต์ ที่ทำงานด้วยไฟฟ้าเป็นครั้งแรก โดยดัดแปลงมาจากปากกาแกะสลักของ Thomas Edison เข็มหรือปืนสักที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะมีความถี่ของการปักเข็มสูง ทำให้การสักเกิดความเจ็บปวดน้อยกว่าสักด้วยมือ
เครื่องมือที่มีรูปร่างหน้าตาแบบนี้ ห้ามนำเข้าเรือนจำนะครับ เพราะเป็นเครื่องมือสักยันต์ ทำงานด้วยไฟฟ้า มีทั้งแบบที่ใช้สักเป็นลายเส้นหรือใช้สักแบบแลเงา