Imageระบบการบำบัดการติดยาเสพย์ติดที่ใช้อยู่ในประเทศไทยแบ่งได้เป็น 3 ระบบคือ

วิธีบำบัดการติดยาในเรือนจำ

  1. ระบบสมัครใจ ใช้กันทั่วไปในสถานบำบัดยาเสพย์ติดของทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ติดยาเสพย์ติดที่อยากเลิกยา สามารถติดต่อขอรับการรักษาเมื่อไรก็ได้ ไม่มีการบังคับ
  2. ระบบบังคับรักษา กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการ ใช้กับผู้ติดยาที่ถูกจับกุมได้ ถ้าผู้ติดยายอมรับการรักษาโดยระบบนี้ ก็จะไม่ถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ
  3. ระบบต้องโทษ เป็นระบบที่ใช้ในกรมราชทัณฑ์ ซึ่งมีการดำเนินการในเรือนจำและทัณฑสถานทุกแห่งโดยเฉพาะ ในทัณฑสถานบำบัดพิเศษต่างๆ ซึ่งจะเน้นหนักกิจกรรมด้านนี้เป็นพิเศษ

ข้อดีของการบำบัดยาเสพย์ติดในระบบต้องโทษ

  • มีระยะเวลาในการรักษาเหลือเฟือ ผู้รับบริการส่วนใหญ่ต้องอยู่ในคุกนานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน(ผู้ต้องขังคดีเสพยาเสพย์ติด) ซึ่งระยะเวลาในการรักษานั้นสำคัญมาก เพราะตามหลักการแล้ว ยิ่งรักษานานก็ยิ่งมีโอกาสหยุดยาได้นาน
  • หนีไปไหนไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะอยากยาแค่ไหนก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากระบบสมัครใจที่ผู้ติดยาอาจเปลี่ยนใจเลิกรักษาได้เมื่อทนอยากยาไม่ไหว
  • ระเบียบวินัยของผู้ติดยาในชุมชนบำบัดของกรมราชทัณฑ์จะดีกว่า เพราะมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์คอยควบคุม
  • ระยะถอนพิษยาสำหรับผู้ติดยาก็ทำได้สะดวก เพราะเรือนจำทุกแห่งมีสถานพยาบาลและเจ้าหน้าที่พยาบาลพร้อม
  • ขั้นตอนการทำอาชีวบำบัดก็ทำได้ง่ายเนื่องจากการฝึกวิชาชีพนั้น เป็นส่วนหนึ่งของงานหลักของเรือนจำทุกแห่งอยู่แล้ว

หมายเหตุ : ถึงวิธีบำบัดของกรมราชทัณฑ์จะดีแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่แนะนำให้ประชาชนทั่วไปหันมาใช้วิธีนี้โดยไม่จำเป็น

  • Dep Curr
  • DOC02
  • Gpo
  • Asso
  • การเยี่ยม
    mini logo

    ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
    33/2 ถนนงามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900 
    อีเมล:hosdoc.mci@gmail.com
    โทร.: 0-2953-3999

     
    Follow Us :