1. ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เรือนจำมีงบประมาณสำหรับจัดซื้ออุปกรณ์กีฬาให้ผู้ต้องขังเล่น เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและเป็นการคลายเครียด
1. ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เรือนจำมีงบประมาณสำหรับจัดซื้ออุปกรณ์กีฬาให้ผู้ต้องขังเล่น เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและเป็นการคลายเครียด | |
2. เรียนหนังสือ ผู้ต้องขังสามารถใช้เวลาว่างให้ประโยชน์ได้ โดยการเรียนหนังสือซึ่งเรือนจำจัดมีการสอนตั้งแต่ชั้นประถมไปจนถึงระดับ ปริญญา | |
3. ฝึกวิชาชีพ นอกจากจะได้รับเงินปันผลจากการฝึกวิชาชีพแล้ว ผู้ต้องขังยังอาจนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพเมื่อพ้นโทษได้ (ในภาพ ผู้ต้องขังของทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง กำลังฝึกเจียรไนพลอย) | |
4. หางานอดิเรกทำการปลูกผักสวนครัว นอกจากจะทำให้เพลิดเพลินแล้ว ยังสามารถนำผักที่ได้มาใช้เป็นอาหารได้อีกด้วย | |
5. ดูหนัง ฟังเพลง เล่นดนตรีโทรทัศน์เป็นสิ่งบันเทิงคลายเครียดที่มีอยู่ในทุกเรือนจำ (ในภาพ เป็นศูนย์ควบคุมทีวีวงจรปิดที่ทำหน้าที่ควบคุมการส่งข่าวสาร ภาพยนต์ รายการบันเทิงทางโทรทัศน์ ไปยังห้องผู้ป่วยทุกห้องภายในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ | |
6. ไหว้พระ สวดมนต์ศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจที่ดีมากสำหรับผู้ต้องขัง (ในภาพ ผู้ต้องขังชาวมุสลิมกำลังทำพิธีทางศาสนา) | |
7. เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่เรือนจำจัดขึ้น (ในภาพ เป็นงานสงกรานต์ที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลจัดให้ผู้ต้องขัง) | |
8. นั่งสมาธิ การทำวิปัสนาหรือนั่งสมาธิช่วยให้ผู้ต้องขังมีจิตใจสงบและเยือกเย็น (ในภาพ คือผู้ต้องขังป่วยที่ออกมานั่งสมาธิที่สนามหญ้าในเวลาเช้า) | |
9. ติดต่อพูดคุยกับญาติ การติดต่อกับญาติไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมหรือพูดคุยทางโทรศัพท์ จะช่วยให้สภาพจิตใจของผู้ต้องขังดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เข้ามาอยู่ในเรือนจำวันแรกๆ | |
10. ขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่เมื่อเกิดความเครียด เจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ เช่นนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ อนุศาสนาจารย์ อาสาสมัคร ฯลฯ อาจช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านจิตใจและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์(ในภาพ เป็นอาสาสมัครจากกลุ่ม NGO ที่เข้ามาพูดคุยเป็นกำลังใจให้กับผู้ต้องขังในทัณฑสถานโรงพยาบาล) |