หัวใจเป็นเครื่องปั๊มเลือดที่มีประสิทธิภาพมาก มันสามารถสูบฉีดเลือด ติดต่อกันหลายสิบปีได้โดยไม่ต้องหยุดพัก แต่ถ้าวันดีคืนดีหัวใจเกิดไม่อยาก จะเต้นขึ้นมา.....เราจะแก้ไขได้อย่างไร
เมื่อหัวใจบีบตัวมันก็จะไล่เลือดที่อยู่ภายใน ให้ไหลไปตามเส้นเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เมื่อหัวใจไม่เต้นโดยสาเหตุอะไรก็ตาม เราก็ต้องช่วยทำงานแทนมัน โดยบีบหัวใจจากภายนอกซึ่งก็คือการปั๊มหัวใจนั่นเอง
วิธีปั๊มหัวใจ :
- วางผู้ป่วยไว้บนพื้นราบที่แข็ง
- คุกเข่าที่ข้างตัวผู้ป่วย
- วางมือทั้งสองข้างไว้ตรงกลางหน้าอกผู้ป่วยระดับใต้ราวนม
- ออกแรงกดหน้าอกผู้ป่วยลงไปตรงๆให้กระดูกหน้าอกยุบลงไปประมาณ 1.5 - 2 นิ้ว การกดแบบนี้อาจเกิดเสียงดังกร๊อบ เนื่องจากการแยกตัวของรอยต่อระหว่างซี่โครงอ่อนและซี่โครงแข็ง หรือดีไม่ดี กระดูกซี่โครงอาจถึงกับหักก็ได้แต่ไม่ต้องกังวลครับ ขอให้ปั๊มต่อไป กระดูกซี่โครงหักเรื่องเล็กมากเมื่อเทียบกับการที่หัวใจหยุดเต้น
- ปั๊มถี่แค่ไหน ปั๊มให้ได้ประมาณ 80 - 100 ครั้งต่อนาทีครับ กะคร่าวๆก็คือ 3 ครั้งต่อ 2 วินาที
- ปั๊มนานแค่ไหน ปั๊มไปเรื่อยๆ จนไปถึงโรงพยาบาลหรือจนรถพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่พยาบาลมาถึงเครื่องปั๊มหัวใจแบบอัตโนมัติ สามารถปรับความแรง และระยะการกดได้ว่าต้องการให้หน้าอกผู้ป่วยยุบตัวมากน้อยแค่ไหน ช่วยป้องกันซี่โครงผู้ป่วยหัก จากการปั๊มหัวใจและช่วยไม่ให้คนปั๊มต้องหัวใจวายตามไปอีกคน เพราะบางครั้งต้องปั๊มกันนานจนหืดขึ้นคอ กว่าผู้ป่วยจะฟื้น หรือกว่าหมอจะยกธงขาวยอมแพ้เพราะผู้ป่วยไม่ยอมฟื้น
การปั๊มหัวใจที่ว่ามานี้ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น แต่ยังหายใจอยู่นะครับถ้าหัวใจหยุดเต้นด้วย และไม่หายใจด้วยก็ต้องทำการผายปอดพร้อมๆกับการปั๊มหัวใจ