Imageผู้ต้องขังที่พยายามฆ่าตัวตายนั้น ไม่ได้ทำเพื่อประท้วงใคร....แต่.....เขากำลังเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากเราด้วยวิธีที่เขาคิดว่าถูกต้องเราจะมีวิธีช่วยอย่างไร

 

  • เมื่อพบผู้ต้องขังพยายามฆ่าตัวตายในเรือนจำ ต้องรีบให้การปฐมพยาบาลพร้อมๆกับ นำตัวส่งสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลภายนอก หลังจากนั้น ควรรวบรวมข้อมูลทุกอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้ต้องขังและการฆ่าตัวตาย เพื่อแจ้งแพทย์ผู้รักษา

 

  • สำหรับสถานพยาบาล หลังจากที่ให้การรักษา เช่น ทำแผล ล้างท้อง แล้ว ต้องสัมภาษณ์ผู้ต้องขัง ประเมินความเสี่ยงที่จะมีการฆ่าตัวตายซ้ำ แล้วพิจารณาว่าควรส่งพบจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลภายนอก หรือ รับตัวไว้ในสถานพยาบาลของเรือนจำ เพื่อใช้มาตรการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย

Image Image

  • ผู้ต้องขังป่วยที่มีความจำเป็นต้องกินยาเพื่อรักษาอาการทางจิตนั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลให้กินยาอย่างสม่ำเสมอ มิฉะนั้นอาการป่วยอาจกำเริบจนเป็นเหตุให้ฆ่าตัวตายได้ และอย่าลืมตรวจค้นตัว และห้องนอนเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ต้องขังไม่ได้ซุกซ่อนยาไว้
  • การดูแลผู้ต้องขังที่พยายามฆ่าตัวตาย ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่คนใด คนหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ ผู้เกี่ยวข้องทุกคนไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล อนุศาสนาจารย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ทุกระดับ หรือแม้แต่ครอบครัวผู้ ต้องขังเอง ก็จำเป็นต้องทำหน้าที่ในส่วนของตนเองให้ดีที่สุด เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย ของผู้ต้องขัง (ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ เจ้าหน้าที่ทุกคนอาจถูกฟ้องร้องได้ ถ้ามีการ พิสูจน์ได้ว่า การฆ่าตัวตายสำเร็จของผู้ต้องขัง เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ที่รับผิดชอบ)

Image Image

  • ในการรักษาผู้ต้องขังที่ซึมเศร้า หรือมีอาการทางจิตที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายนั้น ผลข้างเคียงของยาอาจทำให้ง่วง ซึม จึงต้องห้ามผู้ต้องขังทำงานกับเครื่องจักรหรือของมีคม ส่วนผู้ต้องขังที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้านั้น อาจมีอาการมึนงง สับสนจนอาจเป็นสาเหตุให้ทำผิดระเบียบเรือนจำได้โดยไม่ตั้งใจ ควรให้การดูแลใกล้ชิด

 

  • Dep Curr
  • DOC02
  • Gpo
  • Asso
  • การเยี่ยม
    mini logo

    ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
    33/2 ถนนงามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900 
    อีเมล:hosdoc.mci@gmail.com
    โทร.: 0-2953-3999

     
    Follow Us :