เครื่องดับเพลิงที่มีจำหน่ายในท้องตลาดจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (class) โดยจำแนกตามลักษณะ ของการเกิดเพลิงไหม้ที่ได้กล่าวมาแล้ว และจะต้องระบุประเภทของเครื่องดับเพลิงไว้บนตัวถังเครื่องอย่าง ชัดเจน เป็นตัวอักษร A B C D
A หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากวัสดุทั่วไป เช่น ไม้ กระดาษ ผ้า เป็นต้น
B หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิง หรือของเหลวที่ไวไฟ
C หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากการลุกไหม้ของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เนื่องจากตัวสารเคมีที่ใช้จะไม่นำไฟฟ้า
D หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากโลหะที่ติดไฟได้
ปัจจุบันนี้ ได้มีการผลิตเครื่องดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงได้หลายประเภท ดังนั้น เราอาจเห็นถังดับเพลิง ที่ติดป้าย A-B หรือ B-C หรือแม้แต่ A-B-C ได้
นอกจากนี้ เครื่องดับเพลิงยังแบ่งเป็นหลายชนิด ขึ้นอยู่กับสารที่บรรจุไว้ในถัง เช่น
- ผงเคมีแห้ง เป็นผงสารเคมีที่ถูกบรรจุอยู่ในถังที่อัดก๊าซที่ไม่ติดไฟไว้ เมื่อกดปุ่ม ก๊าซก็จะผลักดันให้ผง เคมีออกจากถัง
- ฮาลอน (Halon) เป็นสารดับเพลิงที่มีลักษณะเป็นก๊าซ นิยมใช้ดับเพลิงที่ลุกไหม้สิ่งที่มีค่า เช่น ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ห้องคอมพิวเตอร์ หรือห้องผ่าตัด เพราะเมื่อฉีดไปแล้วจะไม่ทิ้งคราบไว้ตรงบริเวณที่ฉีด หรือ ทำความสะอาดได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ สามารถดับเพลิงได้ในระยะใกล้ๆเท่านั้น
- น้ำ เป็นถังดับเพลิงที่บรรจุน้ำธรรมดาและก๊าซที่ถูกอัดไว้ เหมาะสำหรับดับเพลิง Class A เท่านั้น
- คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่ถูกอัดแน่นจนเป็นของเหลวเมื่อฉีดออกมาจะเกิดโฟมที่เย็นจัด ช่วยลดอุณหภูมิในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ใช้ได้ดีมากกับไฟไหม้ Class B และ C แต่สามารถดับไฟได้ดี แค่ระยะ 3-8 ฟุต