ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เป็นเรือนจำที่ทำหน้าที่พิเศษคือ คุมขังและให้การรักษาผู้ต้องขังที่เจ็บป่วย ที่ถูกส่งมาจากเรือนจำต่างๆ เมื่อรักษาจนอาการดีขึ้นแล้ว ก็จะส่งตัวกลับไปคุมขังที่เรือนจำเดิมต่อไป
สถานที่ตั้ง
ทัณฑสถานตั้งอยู่ในบริเวณ "กลุ่มเรือนจำลาดยาว" บน ถนนงามวงศ์วาน กทม.ซึ่งประกอบด้วยเรือนจำขนาดใหญ่หลายแห่ง เช่น เรือนจำ
กลางคลองเปรม เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง และทัณฑสถานหญิงกลาง
ด่านแรก
เป็นอาคารอำนวยการ 2 ชั้น ตั้งอยู่นอกกำแพงเรือนจำ ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ เช่น ฝ่ายรักษาการณ์ ฝ่ายสวัสดิการ ฝ่ายทัณฑปฏิบัติ ซึ่งญาติที่มาขอเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังจะต้องมาติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ที่อาคารนี้ ก่อนที่จะผ่าน เข้าสู่ภายในเรือนจำ ทัณสถานฯจะจัดตู้ ล็อคเกอร์ไว้ให้ญาติผู้ต้องขังเก็บสิ่งของ เช่น กระเป๋าเงิน โทรศัพท์มือถือ เนื่องจากเป็นสิ่งของที่ห้ามนำเข้าไปในเรือนจำ ประตูผ่านเข้า-ออกเรือนจำจะถูกควบคุมการ ปิด-เปิดด้วยกลอนแม่เหล็กไฟฟ้า และมีการตรวจสอบการผ่านเข้าออกด้วยทีวีวงจรปิด
การใช้บัตรลงเวลาผ่านเข้า-ออกของเจ้าหน้าที่
การ์ดแม่เหล็กระบบไร้สัมผัส
ภายในเรือนจำ.......
เมื่อผ่านเข้ามาในเรือนจำ จะเห็นอาคารหลายหลัง อาคารหลังใหญ่ที่สุดทาง ด้านซ้ายมือเป็นอาคาร 9 ชั้น ก่อสร้างขึ้นด้วยงบประมาณ 410 ล้านบาทเพื่อให้สามารถรับผู้ต้องขังป่วยได้ 500 คน เริ่มเปิดใช้เมื่อเดือนกันยายน 2547 ที่บริเวณพื้นชั้นล่าง รอบๆตัวอาคารจะเห็นระบบบำบัดน้ำเสียของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งต้องลงทุนสูงถึง 10ล้านบาท เพื่อบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากผู้ต้องขัง 500 คน น้ำเสียที่เกิดขึ้นจะถูกส่งผ่าน แผงหลอดอุลตราไวโอเล็ต ที่ฝังอยู่ใต้ดินรอบๆตัวอาคาร เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบบำบัดน้ำเสียที่ควบคุมการทำ งานอัตโนมัติด้วยไมโครโปรเซสเซอร์
แผงหลอดอุลตราไวโอเล็ต ที่ถูกฝังไว้รอบๆตัวอาคาร
ชั้นที่ 1
ชั้นล่างของตัวอาคารมีหน่วยงานหลายแห่งคล้ายกับโรงพยาบาลทั่วไป คือมีแผนกผู้ป่วยนอก แผนกเวชระเบียน ห้องจ่ายยา ห้องเอกซ์เรย์ห้องฉุกเฉิน ห้องตรวจโรค ฯลฯ ที่แตกต่างไปจากโรงพยาบาลทั่วไปก็คือ ระบบรักษาความปลอดภัยซึ่งจำเป็นในการควบคุมผู้ต้องขัง
เครื่องCT SCAN
กิจกรรมหลายๆอย่างสำหรับผู้ต้องขังจะถูกจัดขึ้น ที่ห้องโถงชั้นล่างของอาคาร เช่น งานนิทรรศการ เต้นแอโรบิค แสดงดนตรี ฉายภาพยนต์ ฯลฯ
องโถงชั้นล่างของตัวอาคารเคยถูกใช้เป็นสนามแข่งชกมวยแดนสามัคคีเกมส์ครั้งที่ 1
การแสดงดนตรีของผู้ต้องขัง
โรงครัวและโรงซักฟอกเสื้อผ้าผู้ต้องขังที่อยู่ทางด้านปีกขวาของชั้นล่างของตัวอาคาร
โรงครัวและโรงซักฟอกเสื้อผ้าผู้ต้องขังที่อยู่ทางด้านปีกขวาของชั้นล่างของตัวอาคาร
ห้องอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่ของทัณฑสถานฯ มีพื้นที่กว้างพอที่จะแบ่งส่วนหนึ่งออกมาทำเป็น ห้องพักผ่อนและศูนย์การเรียนรู้ได้ในอนาคต
ระบบป้องกันอัคคีภัย
ทัณฑสถานฯ ได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนอุปกรณ์ ตรวจจับควันไฟ สัญญาณแจ้งเพลิงไหม้และ อุปกรณ์ดับเพลิง มากกว่าร้อยตัวไว้ตามจุดต่างๆของตัวอาคาร โดยมีศูนย์ควบคุม ซึ่งสามารถบอกได้ทันทีว่าเพลิงไหม้เกิดขึ้นที่จุดไหน
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ควันไฟ สัญญาณแจ้งเพลิงไหม้ ตู้ดับเพลิง และ ศูนย์ควบคุมและตรวจสอบสัญญาณแจ้งเพลิงไหม้ของทัณฑสถานฯ |
ห้องควบคุมระบบไฟฟ้า
ที่ชั้นล่างบริเวณท้ายอาคารจะเป็นห้องควบคุมระบบไฟฟ้า มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ ขับเคลื่อนด้วยเครื่องดีเซลเทอร์โบของ Volvo ซึ่งจะจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวอาคาร ห้องผ่าตัดห้องฉุกเฉิน ฯลฯ และลิฟท์ทุกตัวได้ทันทีที่ไฟฟ้าดับ (ลิฟท์ของทัณฑสถาน มีอยู่ 4 ตัว 2 ตัวสำหรับผู้ต้องขัง อีก 2 ตัวสำหรับเจ้าหน้าที่)
ชั้นที่ 2
มีหน่วยงานอยู่ 4 หน่วยงานคือ กลุ่มงานทันตกรรม กลุ่มงานชันสูตร กลุ่มงานศัลยกรรม และงานพัสดุ กลุ่มงานทันตกรรม ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของตัวอาคาร มีทันตแพทย์ประจำ 6 คน ให้บริการผู้ต้องขังซึ่งส่วนใหญ่มาจากเรือนจำต่างๆในเขต กทม.
เอกซ์เรย์ฟันระบบดิจิตอลทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถ ส่งฟิล์มเอกซ์เรย์ไปยัง ระบบ LAN หรือ Internet ได้ทันที |
ห้องปฏิบัติการชันสูตรตั้งอยู่ที่ชั้น 2 ของตัวอาคาร ทำหน้าที่ตรวจเลือดและตัวอย่างสิ่งคัดหลั่งต่างๆที่แพทย์ส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค
กลุ่มงานชันสูตร
ห้องปฏิบัติการชันสูตรตั้งอยู่ที่ชั้น 2ของตัวอาคาร ทำหน้าที่ตรวจเลือด และตัวอย่างสิ่งคัดหลั่งต่างๆที่แพทย์ส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค
กลุ่มงานห้องผ่าตัด
ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวอาคาร มีห้องผ่าตัดใหญ่ 4ห้อง
ชั้นที่ 3
ฝ่ายการพยาบาล
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงานธุรการ และการเงิน
กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ
กลุ่มงานประกันสุขภาพทั่วหน้า
กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์
กลุ่มงานยาต้าน
เครื่อง Scanner ที่ใช้ในการสแกน เอกสารต่างๆ เข้าสู่ระบบ INTRANET ของทัณฑสถานโรงพยาบาล |
ชั้นสามของตัวอาคารประกอบด้วย ห้องทำงานของหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ฝ่ายบริหาร (งานธุรการ งานการเงินและบัญชีงานพัสดุ งานการเจ้าหน้าที่)ฝ่ายการพยาบาล กลุ่มงานประกันสุขภาพฯ กลุ่มงานสารสนเทศ กลุ่มงานวิชาการ ห้องทำงานแพทย์ ห้องประชุม 2 ห้องซึ่งใช้ในการจัดประชุม และจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของทัณฑสถานฯทุกเดือนห้องสารสนเทศ เป็นศูนย์กลางของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของทัณฑสถาน ซึ่งเป็นGigabit LAN ที่สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ลูกข่ายในระบบ INTRANET ได้มากกว่า 150 เครื่องและยังเชื่อมต่อกับระบบ INTERNET ความเร็วสูงเพื่อสืบค้นข้อมูลผู้ต้องขังได้โดยตรง จากศูนย์ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกระทรวงมหาดไทย
การจัดฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ |
ชั้นที่ 4 ถึง 8
เป็นชั้นสำหรับพักรักษาตัวของผู้ต้องขังป่วยมีเตียงรับผู้ป่วยได้เต็มที่ประมาณชั้นละ100 เตียงชั้น4 รับผู้ป่วยจิตเวช ชั้น5 รับผู้ป่วยศัลยกรรมชั้น6 เป็นผู้ป่วยอายุรกรรม ชั้น7รับผู้ป่วยวัณโรคส่วนชั้น8 ใช้รับผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
การจ่ายยาระบบ DOTS ให้ผู้ป่วยวัณโรค
ผู้ต้องขังได้รับการเยี่ยมอย่างใกล้ชิด
นักจิตวิทยากำลังประเมินสภาพจิตของผู้ป่วย
ห้องกายภาพบำบัด
การให้สุขศึกษาแก่ผู้ต้องขัง
ชั้นที่ 9
เป็นห้องพักเวรเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีอยู่ 20 ห้อง ทุกๆห้องจะติดเครื่องปรับอากาศ เครื่องตรวจจับควันไฟ และมีห้องน้ำในตัว นอกจากนี้ ยังติดตั้งโทรศัพท์ที่สามารถโทรออกภายนอกได้ทุกห้อง
ห้องนอน 1 ห้องจะมี 2 เตียง พร้อมกับทีวีและล็อคเกอร์ใส่เสื้อผ้า | ห้องน้ำและส่วนอาบน้ำที่อยู่ภายในห้องนอนเจ้าหน้าที่ทุกห้อง |
ห้องออกกำลังกายติดเครื่องปรับอากาศสำหรับเจ้าหน้าที่ก็อยู่ชั้นเดียวกันกับห้องพักเวร |