ประชากรโลก 6000 ล้านคน มีลายนิ้วมือไม่ซ้ำกันเลย แม้แต่ฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน (Identical twins) ซึ่งมี DNA เหมือนกัน ก็ยังมีลายนิ้วมือที่ไม่ซ้ำกัน..........
ลายนิ้วมือเกิดขึ้นได้อย่างไร
ผิวหนังบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าของเราจะมีลักษณะพิเศษ คือ นอกจากจะมีความหนามากกว่าส่วนอื่นแล้ว ก็ยังมีส่วนที่เป็นสัน (Ridge) และส่วนที่เป็นร่อง (Furrow) ซึ่งจะประกอบขึ้นเป็นลวดลายที่ไม่ซ้ำกันเลย ไม่ว่าจะเป็นลายที่บริเวณปลายนิ้ว ฝ่ามือและฝ่าเท้า สันและร่องเหล่านี้จะก่อให้เกิดความฝืด ทำให้เราหยิบจับของได้สะดวกขึ้นประวัติของลายนิ้วมือ
คนเรารู้จักใช้ลายนิ้วมือให้เป็นประโยชน์กันมานานแล้ว โดยชาวจีนและชาวอัสซีเรียนจะเป็นกลุ่มแรก ที่ใช้รอยพิมพ์ของลายนิ้วมือบนดินเหนียวแทนการเซ็นชื่อในการค้าขาย
ลายนิ้วมือถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการระบุตัวอาชญากรครั้งแรก ในแคว้นเบงกอล ประเทศอินเดีย โดยตำรวจชาวอังกฤษชื่อ Sir Edward Richard Henry
ในปี พ.ศ. 2445 สหรัฐฯ เริ่มใช้ลายนิ้วมือในการจำแนกตัวบุคคล และในปีต่อมาเรือนจำแห่งรัฐนิวยอร์ก ก็เริ่มการพิสูจน์ยืนยันตัวผู้ต้องขังโดยใช้ลายนิ้วมือ
การจำแนกลายนิ้วมือ
ลายนิ้วมือของคนเราสามารถถูกจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ
ลายมัดหวาย(Loop) |
ลายก้นหอย(Whorl) |
ลายโค้ง(Arch) |
พบ 65% |
พบ 30 % |
พบ 5% |
ลายเส้นพื้นฐานเหล่านี้ยังถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆได้อีกหลายกลุ่ม แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยในการบอกความแตกต่างระหว่างลายนิ้วมือแต่ละ ลายก็คือตำหนิที่เกิดจากลักษณะพิเศษของสัน (Ridge) ที่เป็นเส้นนูนของลายนิ้วมือนั่นเอง